analyticstracking
หัวข้อ   “ ภาระทางการเงินของผู้ปกครอง ในช่วงใกล้เปิดเทอมปีการศึกษา 2559
ผู้ปกครอง 85.9% รับมีปัญหาทางการเงินช่วงลูกใกล้เปิดเทอม
ต้องให้ลูกใช้เสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียนเก่า บางส่วนต้อง จำนำ หยิบยืมและกู้นอกระบบ
89.6% อยากให้คงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีไว้ดังเดิม
โดยให้คะแนนความพึงพอใจในการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล 5.71 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นเรื่อง “ภาระทางการเงินของผู้ปกครอง ในช่วงใกล้เปิดเทอม
ปีการศึกษา 2559”
โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ในระดับ
ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ทั้งสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ในพื้นที่
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,081 คน พบว่า
 
                  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 67.4 ระบุว่าปีนี้มีค่าใช้จ่ายในเรื่อง
การเรียนของบุตรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
รองลงมาร้อยละ 28.4 ระบุว่ามี
ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง
 
                  สำหรับในช่วงเปิดเทอมนี้พบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 85.9 ระบุว่า
มีปัญหาทางการเงินในช่วงเปิดเทอมของบุตร โดยปัญหาที่พบคือ มีค่าใช้จ่าย
ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ 30.4)
รองลงมาคือสินค้าเกี่ยวกับการเรียน
แพงขึ้นเกินงบที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 19.8) และโรงเรียนมีค่าเทอม/ค่าบำรุง/ค่ากิจกรรมเพิ่ม
ขึ้น (ร้อยละ 14.5)
 
                  ส่วนวิธีการแก้ปัญหาทางการเงินนั้น ผู้ปกครองร้อยละ 20.6 ใช้วิธีให้ลูกใช้เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน
ของปีที่แล้วไปก่อน
รองลงมาร้อยละ 20.3 ใช้วิธีนำเงินที่สะสมไว้ออกมาใช้ และร้อยละ 18.0 ใช้วิธีลดปริมาณการซื้อเสื้อผ้า
/ อุปกรณ์ต่างๆ
 
                  ทั้งนี้ความความพึงพอใจในการปฏิรูปด้านการศึกษาจากรัฐบาลปัจจุบันอยู่ที่ 5.71 คะแนน จากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน
 
                  ด้านความเห็นที่มีต่อโครงการเรียนฟรีของรัฐบาลนั้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 89.6 อยากให้คง
นโยบายโครงการเรียนฟรี15 ปี
ตั้งแต่ชั้นอนุบาล – ม.6 ไว้เหมือนเดิม ขณะที่มีเพียงร้อยละ 6.4 เท่านั้นที่ระบุว่าอยากให้
ปรับเป็นเรียนฟรี 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับตามร่างรัฐธรรมนูญ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ค่าใช้จ่ายในเรื่องการเรียนของบุตรในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
67.4
มีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม
28.4
มีค่าใช้จ่ายลดลง
4.2
 
 
             2. เมื่อถามว่า “ท่านมีปัญหาทางการเงินในช่วงใกล้เปิดเทอมของบุตรหรือไม่”

 
ร้อยละ
ไม่มีปัญหา
14.1
มีปัญหา
  โดยปัญหาที่พบคือ  
  มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 30.4
  สินค้าเกี่ยวกับการเรียนแพงขึ้นเกินงบที่ตั้งไว้ ร้อยละ 19.8
  โรงเรียนมีค่าเทอม/ค่าบำรุง/ค่ากิจกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.5
  รายได้ / รายรับลดลง ร้อยละ 14.5
  เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเบิกได้ล่าช้า ร้อยละ 4.0
  จำนวนบุตรเข้าเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.3
85.9
 
 
             3. วิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการแก้ปัญหาทางการเงิน คือ (ถามเฉพาะผู้ที่ตอบว่ามีปัญหา)

 
ร้อยละ
ใช้เสื้อผ้า /อุปกรณ์การเรียนของปีที่แล้วไปก่อน
20.6
นำเงินที่สะสมไว้ออกมาใช้
20.3
ลดปริมาณการซื้อเสื้อผ้า / อุปกรณ์ต่างๆ
18.0
ทำงานพิเศษ/โอทีเพิ่มขึ้น
10.3
ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง /เพื่อน
8.1
จำนำทรัพย์สิน
5.7
กู้เงินนอกระบบ
5.6
ผ่อน/เลื่อนการจ่ายค่าเทอมกับโรงเรียน
4.3
กู้ธนาคาร/ใช้บัตรเครดิต
3.5
อื่นๆ กู้เงินบริษัท ขายของมีค่า หาซื้อของราคาถูก ฯลฯ
3.6
 
 
             4. ความพึงพอใจในการปฏิรูปด้านการศึกษาจากรัฐบาลปัจจุบัน

คะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 5.71 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 10 คะแนน
 
 
             5. ความเห็นต่อโครงการเรียนฟรีของรัฐบาล

 
ร้อยละ
อยากให้คงนโยบายโครงการเรียนฟรี 15 ปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาล – ม.6 ไว้เหมือนเดิม
89.6
อยากให้ปรับเป็นเรียนฟรี 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ
ตามร่างรัฐธรรมนูญ
6.4
ไม่แน่ใจ
4.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา เกี่ยวกับ
ค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเล่าเรียนของบุตรในเทอมนี้เทียบกับปีที่ผ่านมา ปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม
และวิธีแก้ปัญหา รวมถึงความเห็นที่มีต่อการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขต
การปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ได้แก่ เขตดินแดง ดุสิต บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางบอน บางพลัด
บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง และสาทร
และปริมณฑลได้แก่ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่าง
เป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,081 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 5 – 9 พฤษภาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 พฤษภาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
อายุ:
 
 
             20 – 30 ปี
198
18.3
             31 – 40 ปี
414
38.3
             41 – 50 ปี
366
33.9
             51 – 60 ปี
103
9.5
รวม
1,081
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
789
73.0
             ปริญญาตรี
253
23.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
39
3.6
รวม
1,081
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
123
11.4
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
318
29.4
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
478
44.3
             เจ้าของกิจการ
37
3.4
             ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
112
10.4
             ว่างงาน /รอฤดูกาล / รวมกลุ่ม
7
0.6
รวม
1,081
100.0
ประเภทของโรงเรียนที่บุตรศึกษาอยู่:
   
             โรงเรียนรัฐบาล
680
62.9
             โรงเรียนเอกชน
338
31.3
             โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน
63
5.8
รวม
1,081
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776